welcome to by blog

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

Assignment6


ให้นักศึกษาตอบคำถามของแต่ล่ะหน่วยในหนังสือที่ได้มาสัปดาห์ที่แล้วทุกบท

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่1

1.จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ

ตอบ  เทคโนโลยี หมายถึง  วิธีการหรือกระบวนการในการนำความรู้สาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ     สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้รับการตีความ จำแนกแจกแจง จัดหมวดหมู่ หรือประมวลผลจนมีสาระอยู่ในตัวมันเอง สามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในหรือภายนอกองค์การ

2.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร

 ตอบ ข้อมูล ข่าวสารสามารถเชื่อมโยงกันแบบเครือข่ายหรือใยแมงมุมได้ทั่วทุกมุมโลกโดยใช้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ ดาวเทียม เส้นใยแก้วนำแสง ไมโครเวฟ ผสมผสานกันเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น เราจึงเรียกกระบวนการนี้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร

ตอบ  เกิดจากการรวมกันของเทคโนโลยี 2 ด้าน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคม กับ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่ออย่างไร

ตอบ เกิดจากการรวมของเทคโนโลยี 2 ด้าน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคม และ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

5.ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: I) หมายถึงอะไร และมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร 

ตอบ โครงการ พัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผล ตามลักษณะของโปรแกรม  มีส่วนประกอบที่สำคัญ 
1) ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล คือ หุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่นหุ่นยนต์กู้ระเบิด

2) ระบบ ประมวลภาษาพูด คือการพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่นนาฬิกาปลุกพูดได้

3) ระบบ การรู้จำเสียง คือการพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ ได้อย่างต่อเนื่อง เช่นงานระบบรักษาความปลอดภัย

4) ระบบ ผู้เชี่ยวชาญ คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มีหรือจากประสบการณ์แก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล ซึ่งมนุษย์เป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว

6.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร

ตอบ   1. ด้านวิชาการ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการค้นคว้าหาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด

2.การ ดำรงชีวิตประจำวัน ช่วยให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่างๆ สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ช่วยให้การทำงานใช้เวลาน้อยลง

3.การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา

4.ด้าน การติดต่อสื่อสาร ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่างๆและปรากฎการณ์โลกไร้พรมแดนทำให้ผู้คนใน สังคมมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

5.ด้าน ผลผลิต ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทำงานได้มากขึ้นหรือ ช่วยลดความเสี่ยงในงานบางอย่าง โดยใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องและรวดเร็ว

7.สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร 

 ตอบ  สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ในการใช้งานควรมีลักษณะดังนี้

ด้านเนื้อหา ( Content )

ความสมบูรณ์ครอบคลุม ( Completeness )

ความสำพันธ์กับเรื่อง ( Relevance )

ความถูกต้อง ( Accuracy )

ความเชื่อถือได้ ( Reliability )

การตรวจสอบได้ ( Verifiability )

ด้านรูปแบบ ( Format )

ชัดเจน ( Clarity )

ระดับรายละเอียด ( Level of Detail )

รูปแบบการนำเสนอ ( Presentation )

สื่อการนำเสนอ ( Media )

ความยืดหยุ่น ( Flexibility )

ด้านประสิทธิภาพ ( Efficiency )

ประหยัด ( Economy )

เวลา ( Time )

ความรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ ( Timely )

การปรับปรุงให้ทันสมัย ( Up-to-date )

มีระยะเวลา ( Time Period )

ด้านกระบวนการ ( Process )

ความสามรถในการเข้าถึง ( Accessibility )

การมีส่วนร่วม ( Participation )

การเชื่อมโยง ( Connectivity )

8.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตอบ หนังสือ พิมพ์  วิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์  โทรศัพท์  โทรสาร  การถอนจาก ATM การแสกนสายนิ้วมือการเข้าปฏิบัติงานในสำนักงาน การทำบัตรประจำตัวประชาชนสามารถโดยเชื่อมต่อระบบออนไลน์

9.จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน

ตอบ ใน ปัจจุบันนี้ช่วยให้การเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อนการเดินทางและการติดต่อสื่อสารระหว่างกันทำได้ ง่ายมากขึ้นมีการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ

10. จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม

ตอบ   ประโยชน์ ได้แก่ 

 -ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล

-ช่วยทำให้วิทยาการต่างๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว

-การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว

-สนับสนุนการทำงานและกระบวนการผลิตเช่นการใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผนออกแบบและควบคุมระบบการทำงาน

-กระจายโอกาสด้านการศึกษมาให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้

-ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง 

 โทษของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.การแพร่ภาพอนาจารบนเครือข่าย การล่อลวง เกมส์ออนไลน์
2.สิ้นเปลืองทรัพยากร เช่น น้ำมัน แก็ส และถ่านหินจนกระทั้งน้ำ                                                    3.เปลี่ยนสังคมชาวบ้าน ให้กลายเป็นวัตถุนิยม                                                                                  4. ทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย
5. ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน เพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานคน
6.
 ทำให้เสียเวลา ทั้งจากรายการไร้สาระในโทรทัศน์ จนกระทั่งนัก Chat
7.หากใช้เว็บไซด์จำพวก
Social Network จะทำให้ผู้ใช้มีโลกเป็นของตนเอง ขาดการติดต่อกับผู้อื่น โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนเกิดช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก

 

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่2

1.คำว่าระบบ และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร

ตอบ   ระบบ (System) หมายถึง การทำงานของระบบย่อยๆ อย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่ สมบูรณ์ของแต่ละงาน สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอนระบบจึงเป็นหัวใจสำคัญของงาน หรือการดำเนินงานทุกประเภท

วิธีการเชิงระบบ (System Approach) วิธีเชิงระบบหรือวิธีระบบคือคำๆเดียวกัน เป็นกระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้าน ต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน

2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร

ตอบ   ปัจจัยนำเข้า (Input)  กระบวนการ (Process) ผลลัพธ์ (Output)

3.ระบบสารสนเทศ หมายถึงอะไร

ตอบ  การ ประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลในรูป ของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุดและเป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนการ บริหารและการตัดสินใจ ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล

4.องค์ประกอบหลักของสารสนเทศ ได้แก่อะไร

ตอบ  ระบบการคิด และระบบของเครื่องมือ

5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร

ตอบ   สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ประกอบด้วย ข้อมูล (Data) สารสนเทศ(Information)ความรู้(Knowledge) ปัญญา (Wisdom) 

ด้านขั้นตอน ประกอบด้วย ข้อมูลนำเข้า(Input) กระบวนการ(Process) และผลลัพธ์(Output)

สารสนเทศ ทั่วไป คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล (Hardware) ข้อมูล (Data) สารสนเทศ(Information) โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์(Software)บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์(Peopleware)

6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร

ตอบ  มี4ขั้นตอน   ขั้นที่1การวิเคราะห์ระบบ แบ่งเป็น 4 หน่วยย่อย คือ

1.              วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน  2.วิเคราะห์หน้าที่  3.วิเคราะห์งาน 4.วิเคราะห์วิธีการและสื่อ

ขั้นที่2การสังเคราะห์ระบบ  

1.  การเลือกวิธีการหรือกลวิธี เพื่อหาช่องทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบและทดลองกลวิธีเพื่อปรับปรุงให้ เหมาะสมกับสารสนเทศที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้

2.ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยเลือกกลวิธีที่เหมาะสม

3.ประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน

ขั้นที่3 การสร้างแบบจำลอง

7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ ต่างกันตรงหน้าที่การทำงาน ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่รับผิดชอบ     ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วม กันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม    ระบบสารสนเทศระดับองค์กร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก

8.ข้อมูลและความรู้ คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร

ตอบ ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส ทั้งห้าทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ความรู้ เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภาย นอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหากระบวนการ และขั้นตอน อาจอยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศระดับต่างๆหรืออาจอยู่ในรูปของ อารมณ์ความรู้สึกและเหตุผล

มี ความสำคัญกับสารสนเทศ นำข้อมูลที่ถูกกลั่นกรองด้วยวิธีต่างๆอาจอยู่ในรูปของภาพ แสง สี เสียง รูปทรง ตัวเลข สามารถนำไปใช้ได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็วและคุณค่าของสารสนเทศจะนำไปสู่ ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อไป

9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร

ตอบ ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล   1.การรวบรวมข้อมูล  2.การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล  3.การจัดการข้อมูล  4.การควบคุมข้อมูล 5.การสร้างสารสนเทศ 

วิธีการเก็บข้อมูล    1.การสำรวจด้วยแบบสอบถาม 2.การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง  3. การนับจำนวนหรือวัดขนาดของตนเอง

10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่งที่ออมพิวเตอร์ใช้งานแตกต่างกัน

ตอบ แลน คือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ จำกัดเขตเฉพาะภายในบริเวณอาคารหรือกลุ่มอาคารที่อยู่ใกล้กัน เนื่องจากข้อจำกัดของตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูล เช่นภายในรั้วโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย

แวน คือ เครือข่ายบริเวณกว้าง ระยะทางมากกว่า10กิโลเมตรขึ้นไปจนมากกว่าหลายพันกิโลเมตร ปกติเชื่อมโยงด้วยระบบสื่อสารสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ เครือข่ายเส้นใยแก้วนำแสง

อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือข่ายแวนจำนวนมากซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลก 

 

คำถามหน่วยการเรียนที่ 3

1. คอมพิวเตอร์หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร

ตอบ เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่างๆสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบมี ประโยชน์คือมีความเร็วในการทำงานสูง มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสัปดาห์หรือเป็นปีมีความถูกต้องแม่นยำสูง

2. คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร

ตอบ  อุปกรณ์ชิ้นแรกซึ่งเป็นที่มาของคอมพิวเตอร์เริ่มจากการคิดค้นของชาวจีนใน ช่วงปี พ.ศ. 500 มีการประดิษฐ์ลูกคิด ต่อมาในปีพ.ศ. 2185 แบลส์  พาสคัล ได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลข ปีพ.ศ. 2376 ชาร์ล  แบบเบ็จ สร้างเครื่องคำนวณที่ทำงานโดยอาศัยโปรแกรมเป็นเครื่องแรกของโลก

3. ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ Hard ware,Soft ware,Data,people

4. ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไรส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร

ตอบ กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตาม ความประสงค์ของผู้ใช้มากที่สุด Input,Output,Central Processing Unit : CPU,Memory,Peripheral Equipment

5. ฮาร์ดแวร์หมายถึงอะไรส่วนประกอบบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร

ตอบ ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่สมารถสัมผัสและจับต้องได้ส่วนประกอบที่ สำคัญ ส่วนประมาลผล ส่วนความจำ อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล

6. ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์

ตอบ หน่วยประมวลผลกลาง

7. หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม ( RAM ) และแบบรอม ( ROM ) ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ แบบแรมต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลเป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ เพราะว่าไฟดับข้อมูลที่ถูกเก็บไว้จะถูกลบหายไปแบบรอมไม่ขึ้นกับไฟฟ้าและไม่ สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่ายต้องใช้เทคนิคพิเศษช่วยส่วนใหญ่ใช่ ในการเก็บโปรแกรมควบคุม

8. จานบันทึกข้อมูล ( HARD Disk ) ประกอบด้วยอะไรทำหน้าที่อย่างไร

ตอบ ประ กอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่นและเครื่องขับจานเป็น ส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีเมอร์เตอร์ทำหน้าที่หาทุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็ว สูงมีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆลงบนผิวบนแผ่นดังกล่าว

9. บอกความหมายของคำต่อไปนี้ เมกะไบต์ ( Megabyte ) กิกะไบต์ ( Gigabit ) พิกเซล ( Pixel ) จิกะเฮิร์ซ ( GHz )

ตอบ  กิกะไบต์[1][2] หรือ จิกะไบต์[1][2] (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์จิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ

1 GB = 1,000,000,000 ไบต์ (หนึ่งพันล้านไบต์) ใช้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และในวิศวกรรมสื่อสาร

1 GB = 1,073,741,824 ไบต์ ซึ่งเท่ากับ 10243 หรือ 230 ไบต์ มีใช้ในระบบปฏิบัติการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์

เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างสองความหมายข้างต้น หน่วยงานมาตรฐาน IEC แนะนำให้เรียกปริมาณ 1,073,741,824 ไบต์เป็นชื่อใหม่ว่า จิบิไบต์ หรือ กิบิไบต์ (gibibyte) และใช้ตัวย่อว่า GiB แทน ในขณะที่ปริมาณ 1,000,000,000 ไบต์ยังคงใช้ จิกะไบต์ตามเดิ

เมกะไบต์ ( Megabyte ) เมกะไบต์ (อังกฤษ: megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg

พิกเซล ( Pixel ) ความละเอียดของจุดภาพ จุดภาพ หรือ พิกเซล (อังกฤษ: pixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด) ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้

จิกะเฮิร์ซ ( GHz ) gigahertz (กิกะเฮิร์ตซ์) ตัวย่อ GHz เป็นหน่วยของความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) เท่ากับหนึ่งพันล้านเฮิร์ตซ์ (1,000,000,000 Hz) gigahertz ได้รับการใช้เป็น

ตัวชี้ความถี่ของ ultra-high-frequency (UHF) และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ

(microwave) และรวมถึงในบางคอมพิวเตอร์ ใช้แสดงความเร็วนาฬิกาของไมโครโพรเซสเซอร์

10. จอภาพ แป้นพิมพ์ เมาส์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์

ตอบ จอภาพ แสดงผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์แสดงผลได้ทั้งตัวหนังสือภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว

แป้นพิมพ์ รับเข้าข้อมูลจากการกดเพื่อส่งต่อไปไห้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

เมาส์ ใช้ในการควบคุมตัวชี้ที่ปรากฏบนจอภาพเลื่อนไปสู่ตำแหน่งต่างๆที่ต้องการสามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมในการควบคุมคำสั่งก็ได้

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4

1. ซอฟแวร์คืออะไรและทำหน้าที่อย่างไร

ตอบ ชุดคำสั่งงานของคอมพิวเตอร์อย่างเป็นลำดับขั้นเป็นส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ ได้โดยตรงทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไรและเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ ใช้คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์

2. ซอฟแวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ 2 ประเภท ซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ 

3. ซอฟแวร์ระบบคืออะไร

ตอบ คือโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ

4. ซอฟแวร์ประยุกต์คืออะไร

ตอบ เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้เฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการเช่นงานพิมพ์เอกสาร โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์

5. ซอฟแวร์เฉพาะงานคืออะไร

ตอบ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่างเช่นการตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์

6. ซอฟแวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร

ตอบ ซอฟต์แวร์เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้อง การภาษาหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์สำคัญที่ทำให้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานแตกต่างกันได้มากมายซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญ แลละจำเป็นของระบบคอมพิวเตอร์หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้

7. ซอฟแวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ตอบ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่แปรภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องดัง นั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปรภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให เป็นภาษาเครื่องโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เรียกว่า คอมไพเลอหรืออินเทอร์พีเตอร์

8. ระบบปฏิบัติการคืออะไรทำหน้าที่อะไร

ตอบ เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์เพื่อให้มั่นใจว่า อุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ตแวร์ทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันได้อย่างราบ รื่นและมีประสิทธิภาพทำหน้าที่จัดการข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในเครื่อง คอมพิวเตอร์เช่นการสำเนาข้อมูล การเรียงลำดับ

 คำถามท้ายบท  หน่วยที่

  1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  การเชื่อมโยงต่อระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและสะดวกในการใช้งานการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์แต่ละตัวที่ใช้ทำงานเข้าหากัน

  2. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร                                                                       ตอบ 
1. ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่ ให้ประโยชน์ด้านการใช้ข้อมูลร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ข้อมูลในฐานเดียวกันทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันที่สุด
2. ระบบเรือข่ายอินเตอร์เน็ต ประโยชน์ที่เรานำมาใช้ในปัจจุบัน คือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(e-mail)การค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ การศึกษาแบบ E-Learning การพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การธนาคารอิเล็กทรอนิกส์
3. ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติ การนำระบบนี้มาใช้ถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์


 3. ระบบเครือข่ายเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร

ตอบ  เป็นที่นิยมใช้ภายในสำนักงานอาคารเดียวกันและองค์กรที่บริเวณเดียวกันหรือใกล้กัน เป็นเครือข่ายระยะใกล้โดยใช้สายเคเบิล สายโคแอกซ์ สายใยแก้ว

4. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร

ตอบ  เป็นระบบใหญ่ที่มีการเชื่อมโยงกันทั่วโลกผลกระทบและผลประโยชน์จึงมีกว้างมาก

5. ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการความหมายว่าอย่างไร

ตอบ  เป็นระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกันเครือข่ายร่วมกัน

6. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ  3 ประเภท คือ 1. เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ 2. เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง 3. เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง


7. รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง

ตอบ  2 รูปแบบ คือ 1.ฮาร์ดแวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ 2. ซอฟแวร์หรือส่วนจัดการเชิงตรรกะ

 

คำถามท้ายบท  หน่วยที่ 6
1. อินเตอร์เน็ตความหมายว่าอย่างไร

ตอบ  เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันและแลกเปลี่ยนข่าวสาร
กันจะต้องใช้เกณฑ์วิธีหรือโพรโทคอลเดียวกันจึงจะเข้ากันได้
2.จงอธิบายความสำคัญของอินเตอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง

ตอบ  1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล  2.ระบบอินเตอร์เน็ตจะทำหน้าที่เปรีบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่  3.สามารถใช้ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่นๆเพื่อหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้

3. จงบอกประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตอบ  1.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว
        2. ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้
        3.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
        4.สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
        5.ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ
        6.ใช้สื่อสารโดยข้อความตอบโต้กัน
        7.ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
        8.ซื้อขายสินค้าและบริการ




4. การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพผ่านอุปกรณ์ modem หมายความว่าอย่างไร

ตอบ  อุปกรณ์แปงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์

5. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร

ตอบ  เป็นระบบบริการข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกที่ในโลกซึ่งข้อมูลต่างกัน เช่น เอกสารรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่าย

6. จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ e-mail

ตอบ  สามารถส่งข้อมูลให้กับผู้รับไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลกอย่างรวดเร็วสะดวก

คำถามท้ายบทหน่วยที่ 7

1. จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท

ตอบ  1.อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายสำหรับองค์กรหนึ่งๆ เช่น อินทราเน็ตของบริษัท โตโยต้า จะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลกสามารถดูแลกิจการของสาขาต่างๆให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน
 2. เอกซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายสำหรับองค์กรเช่นเดียวกับอินทราเน็ตแต่เปิดให้สมาชิกภายนอกที่ได้รับอนุญาติเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ด้วย เช่น เครือข่ายบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัดที่มีร้านวัสดุต่างๆเป็นสมาชิกให้ร้านเหล่านี้สามารถติดต่อสั่งซื้อสินค้าและรับบริการอื่นๆผ่านเครือข่ายนี้
 3. อิน เทอร์เน็ต ทั้งอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลโดยมีเจ้าของกำหนดว่า ใครเป็นสมาชิกของเครือข่ายได้แต่อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะไม่มีเจ้า ของทุกคนสามารถเชื่อมต่อได้
 4. รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ เป็นเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต่างกันเพราะฉนั้นการนำเสนอข้อมูลการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจึงแตกต่างกัน

2. อินทราเน็ตหมายความว่าอย่างไร

ตอบ  อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายสำหรับองค์กรหนึ่งๆ เช่น อินทราเน็ตของบริษัท โตโยต้า จะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลกสามารถดูแลกิจการของสาขาต่างๆให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน

3. จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ตอบ     http://www.google.com

            http://www.altavista.com

              http://www.excite.com

            http://www.yahoo.com

4. จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ google พอสังเขป

ตอบ ให้พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วกดบนแป้น enter และคลิกที่ปุ่ม go บนหน้าจอ google ก็จะขึ้นเว็บเพจที่ค้นพบ

5. Digital library  (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) หมายความว่าอย่างไร

ตอบ การจัดเก็บสารสนเทศในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสิ่งพิมพ์

6.  จงยกตัวอย่างข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา

ตอบ    http://www.school.net.th

           http://www.learn.in.th

 

คำถามท้ายบท   หน่วยที่ 8 

1.ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน

1.1 การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร

ตอบ 1.ให้ผู้ฟัง ชม เข้าใจสาระของการนำเสนอ

       2.ให้ผู้ฟัง ชม เกิดความประทับใจซึ่งส่งผลสู่ความเชื่อในผลงานที่นำเสนอ

1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง

ตอบ   1.การดึงดูดความสนใจ

         2.ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา

         3.ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ 1.การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม
           2.การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม

1.4  เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

ตอบ เครื่องมือหลักคือ เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องฉายภาพจากจอคอมพิวเตอร์

1.5  รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

ตอบ 1. การนำเสนอแบบ slide presentation คือ ใช้โปรแกรม power point  ใช้โปรแกรม proshow gold ใช้โปรแกรม flip album

        2. รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ใช้โปรแกรม authorware  การใช้ระบบจัดการสอนในระบบออนไลน์ moodle

        3. รูปแบบ social network  การใช้เว็บบล็อก (weblog)เพื่อการเรียนการสอน   การนำเสนอแบบ webpage